วันอาทิตย์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

มหาเทพทรงพาหนะ


บทความโดย กิตติ วัฒนะมหาตม์

*วัตถุมงคลในบทความนี้ ไม่มีให้เช่าบูชา*




เรื่องของสัตว์พาหนะ ผมเขียนไว้ใน http://shreegurudevamantra.blogspot.com/2015/12/blog-post_11.html
ว่ามีที่มาจากอะไรๆ ได้หลายอย่าง โดยทั้งหมดล้วนมิได้เป็นพาหนะขององค์เทพจริงๆ

แต่เทวศาสตร์ และไสยศาสตร์ของไทย ได้พัฒนาผ่านกาลเวลา จนเข้าถึงระดับสูงสุด ในศาสตร์ทั้งหลายของอินเดียและอุษาคเนย์ ที่บูชาเทพทรงพาหนะ

โดยศาสตร์นี้ มีต้นกำเนิดมาจาก เทวดาอัฐทิศ หรือ อัษฎโลกบาล ของอินเดีย ซึ่งประกอบด้วย :

๑.พระอินทร์ ประจำทิศตะวันออก ทรงช้างเอราวัณ

๒.พระอัคนี ประจำทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทรงระมาดเพลิง

๓.พระยม ประจำทิศใต้ ทรงมหิงสา

๔.พระนิรฤติ ประจำทิศตะวันตกเฉียงใต้ ทรงพยัคฆ์

๕.พระวรุณ ประจำทิศตะวันตก ทรงนาค

๖.พระพาย ประจำทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ทรงม้า

๗.พระไพศรพณ์ ประจำทิศเหนือ ทรงโค

๘.พระอิศาณ หรือ พระอิศวร ประจำทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ทรงโค

โดยเราได้รับมาตั้งแต่สมัยทวารวดีแต่ที่นับเป็นครูของศาสตร์แขนงนี้ในไทยเราอย่างแท้จริง มาจากเขมรครับ

อย่างไรก็ตาม ศาสตร์แห่งเทวดาอัฐทิศของไทยเรา ในที่สุดก็เสื่อมลงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

โดยยังคงเหลืออยู่แต่ในตำรา อภิไทโภธิบาทว์ เป็นพิธีกรรมสำหรับแก้อาถรรพณ์ลางร้ายต่างๆ ซึ่งในทางปฏิบัติ ก็มีอยู่เพียงการอนุรักษ์ตำราไว้เท่านั้น

ส่วนในทางศิลปะ ก็นิยมทำเป็นรูปเทวดานั่งแท่น ไม่ทรงพาหนะอีกต่อไป 

แม้กระนั้น ประติมานวิทยาของเทพที่ทรงพาหนะ ก็ยังคงมีการสืบทอดกันต่อมาในทางไสยศาสตร์ของเราเนื่องจากเป็นรูปลักษณ์ที่ทรงอานุภาพ และอิทธิฤทธิ์ ในระดับที่เหนือกว่าเทวรูปทั่วไปของเทพองค์เดียวกัน

ซึ่งนั่นก็เพราะว่า เป็นสิ่งที่เราได้รับมาจากเทวศาสตร์ และไสยศาสตร์เขมร ที่มีองค์ความรู้ในเรื่องนี้อยู่แล้วนั่นเอง

โดยองค์เทพตามคตินี้ ที่เรารักษาไว้ได้ตลอดมา คือ พระอินทร์ พระวรุณ และพระอิศาณ หรือพระอิศวร

อีกทั้งเรายังได้ผนวกเอามหาเทพองค์สำคัญ คือ พระนารายณ์ และ พระพรหม เข้าไปด้วย จนเกิดเป็นสายวิชาเฉพาะของไทยเราเอง

ดังเช่นในอดีต บางสำนักได้จัดสร้างพระนารายณ์ทรงครุฑ พระอิศวรทรงโค พระพรหมทรงหงส์ พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ และพระพิรุณทรงนาค เป็นเทวรูปชุดเดียวกัน ๕ องค์ สำหรับการประกอบพิธีกรรม ที่มีศาสตร์รองรับโดยเฉพาะ

แต่ก็เป็นที่น่าเสียดายว่า ศาสตร์ดังกล่าวสืบทอดกันในวงแคบเฉพาะไม่กี่สำนักครับ และไม่เป็นที่พบเห็นกันอีกต่อไปแล้วในปัจจุบัน

คงเหลือแต่การประดิษฐานเทพผู้ทรงมเหสักข์ทั้ง ๕ เป็นเอกเทศ ตามสถานที่ต่างๆ  ดังต่อไปนี้ครับ




พระนารายณ์ทรงครุฑ

เป็นศาสตร์ที่ไทยเราได้รับจากเขมร ตั้งแต่สมัยอยุธยา

และเรานำมาใช้ทั้งในรูปแบบของเทพที่ขจัดสิ่งชั่วร้าย อันพึงมีพึงเกิดแก่พระพุทธรูปองค์สำคัญ และเป็นสัญลักษณ์ของพระราชอำนาจแห่งองค์พระมหากษัตริย์

วัดหลวงที่พระเจ้ากรุงศรีอยุธยาทรงสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ จึงมีรูปนารายณ์ทรงครุฑปรากฏอยู่เป็นสำคัญ

อีกทั้งยังทำเป็นโขนเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราชลมารค เช่น เรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ ที่สร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๙ โดยสืบทอดรูปแบบจากสมัยรัชกาลที่ ๔

ปัจจุบัน ศาสตร์แห่งพระนารายณ์ทรงครุฑ ยังคงได้รับความนิยมโดยไม่เสื่อมคลาย นอกจากการสืบทอดคติอยุธยาโดยหลายๆ วัดที่สร้างขึ้นใหม่แล้ว ยังมีการสร้างเป็นเทวรูปขนาดใหญ่ สำหรับให้สาธารณชนสักการบูชาด้วย




เช่น พระนารายณ์ทรงครุฑประทับบนพระราหู ที่ วัดยานนาวา และ ศิวาลัยสถาน สี่แยกพระศิวะ (ถนนรัชดาตัดถนนลาดพร้าว) กรุงเทพฯ

ส่วนพระนารายณ์ทรงครุฑแบบขอมโบราณ  ตรงด้านหน้า โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล  ย่านราชประสงค์ ที่มีหมอดูและสื่อต่างๆ แนะนำให้ไปไหว้กันอยู่เสมอนั้น

ไม่มีอำนาจใดๆ ที่จะรับการบูชาหรอกครับ เนื่องจากเดิมเป็นเพียงประติมากรรมสำหรับตกแต่งสถานที่ เพื่อแก้ฮวงจุ้ยเท่านั้น




พระอิศวรทรงโค

ทรงเป็นใหญ่มาก่อนทั้งในเทวศาสตร์ และไสยศาสตร์ไทยโบราณ

เทวรูปของพระองค์ จึงเป็นเทวดาทรงโคที่มีพระกรจำนวนมาก แสดงถึงเทวานุภาพอันมหาศาล ซึ่งน่าจะเป็นรูปแบบที่ทำกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา

แต่ส่วนใหญ่ก็มีหลักฐานคงเหลืออยู่เพียงในภาพที่เห็นนี้ละครับ ซึ่งเป็นเทวรูปลงรักปิดทองสมัยรัตนโกสินทร์ และนักเลงพระเครื่องมักเรียกกันผิดๆ ว่า “นารายณ์ทรงโค”




เทวรูปเหล่านี้ ส่วนหนึ่งถูกดัดแปลงให้เป็น พระพุทธรูปปางโปรดพกาพรหม โดยตัดยอดชฎาออก แล้วเติมพระพุทธรูปองค์เล็กๆ เข้าไปแทน

การกระทำเช่นนี้ อาจเป็นเหตุปัจจัยสำคัญ ที่ทำให้ศาสตร์ของพระอิศวรในเมืองไทยเสื่อมสูญไปจนหมดสิ้นในเวลาต่อมา

และในขณะที่ผมเขียนบทความนี้ ยังไม่พบว่ามีการสร้างพระอิศวรทรงโคขนาดใหญ่ไว้ ณ ที่ใดในเมืองไทยครับ




พระพรหมทรงหงส์

แม้ว่าจะทรงเป็นองค์บรมครูในทางเทวศาสตร์และไสยศาสตร์ไทย แต่ก็เช่นเดียวกับพระอิศวรทรงโค คือยังไม่พบว่า มีการสร้างเป็นเทวรูปขนาดใหญ่มาก่อน

จนกระทั่งคณะช่างของ อ.สง่า มยุระ ได้ประดิษฐานพระพรหมทรงหงส์ไว้บนหน้าบันด้านหนึ่ง ของพระอุโบสถ วัดราชบุรณะ หรือ วัดเลียบ ที่สร้างขึ้นใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่า เป็นพระพรหมทรงหงส์ที่สวยที่สุดในเมืองไทย




ส่วนที่เป็นเทวรูปขนาดใหญ่ สำหรับให้สาธารณชนสักการะบูชานั้น ปัจจุบันมีการสร้างไว้ที่ Legend Siam พัทยา แต่เนื่องจากเพิ่งสร้างขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ จึงยังไม่มีประสบการณ์แพร่หลายครับ




พระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ

เป็นสายวิชาที่ไทยเรารับรูปแบบจากเขมร แต่ยังไม่พบหลักฐานที่เก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๖ เป็นต้นมา

ปัจจุบัน มีการสร้างพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณไว้ตามสถานที่ต่างๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันมาก เช่น วัดสารภี จ.สุพรรณบุรี, วัดสมานรัตนาราม  จ.ฉะเชิงเทรา และ Legend Siam พัทยา เป็นต้น 




แต่ไม่มีที่ใดสร้างได้งาม และศักดิ์สิทธิ์ไปกว่า วัดเทวราชกุญชร เทเวศร์ ครับ




พระพิรุณทรงนาค

พระพิรุณหรือพระวรุณ ในศาสตร์ยุคทวารวดีและขอมนั้น ทรงหงส์ แต่ในทางเทวศาสตร์และไสยศาสตร์ไทยนั้นทรงนาค

และน่าประหลาดใจมากครับ ที่พระพิรุณทรงนาคนี้ ปัจจุบันนับเป็นเทพทรงพาหนะที่มีการจัดสร้างไว้มากที่สุดในเมืองไทย เมื่อเทียบกับพระเป็นเจ้าอีก ๔ องค์ที่กล่าวมาแล้ว

โดยเทวรูปขนาดใหญ่ของพระพิรุณทรงนาค ที่สาธารณชนสามารถไปสักการะบูชาได้ง่าย เช่น

-กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถ.ราชดำเนิน กรุงเทพฯ

-วิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาเขตหันตรา จ.พระนครศรีอยุธยา

-วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี จ.กาญจนบุรี 




-มหาวิทยาลัยแม่โจ้ อ.สันทราย จ.เชียงใหม่ บริเวณหน้าคณะพัฒนาการท่องเที่ยว

การที่โบราณาจารย์ของเรา ได้บูชาเทพทั้ง ๕ องค์นี้เป็นชุดเดียวกัน แม้จะเป็นคติที่ไม่แพร่หลาย และพวกเราในยุคนี้ไม่รู้จักกันแล้ว

แต่จากประสบการณ์ของผม ในการทำงานด้านนี้มานานกว่า ๒๐ ปี ก็ได้ประจักษ์ว่า เป็นวิธีการบูชาที่มีผลพิเศษ ในการปกป้องคุ้มครอง ขจัดอาถรรพณ์ เสนียดจัญไร และการกระทำคุณไสยมนต์ดำต่างๆ ได้ในระดับที่เหนือกว่าเทวรูปชนิดอื่นจริงๆ ครับ

ผมจึงหยิบยกมาแนะนำ โดยที่พวกเราก็ไม่จำเป็นต้องไปแสวงหาเทวรูปทรงพาหนะเช่นนี้ มาตั้งบูชาเป็นชุดครบ ๕ องค์

เพราะอย่างเช่นพระอิศวรทรงโค ทุกวันนี้ส่วนมากเป็นของโรงงานเลียนแบบของเก่าครับ

นานๆ ครั้งจึงจะมีบางวัดสร้าง ซึ่งก็ด้วยความเข้าใจผิดว่าเป็นพระนารายณ์ทรงโคเสียอีก เป็นการยืนยันว่า ไม่มีวิชาที่จะเสกทำเทวรูปเช่นนี้คงเหลืออย่างแน่นอน




ดังนั้น พวกเราก็เพียงแต่ไปสักการะบูชาพระนารายณ์ พระพรหม พระอินทร์ และพระพิรุณ ตามสถานที่ที่ผมระบุแล้ว ให้ได้ ๓ องค์ ก็พอแล้วครับ (เลือกเอาว่าจะเป็นพระนารายณ์หรือพระพรหมก็ได้)

และเมื่อใดก็ตามที่รู้สึกว่า ดวงชะตามืดมน ถูกคนชั่วคนวิปริตเบียดเบียน ด้วยไสยศาสตร์มนต์ดำ เป็นต้น ก็ควรบูชาให้ครบทั้ง ๓ องค์ ภายใน ๗ วัน

ซึ่งจะต้องไม่ตรงกับวันอุบาทว์ และวันโลกาวินาศ ตามปฏิทินโหราศาสตร์ไทย

และไม่จำเป็นต้องไปในช่วงเทศกาล เช่น ปีใหม่ หรือสงกรานต์ครับ

เพราะอย่างพระพิรุณที่กระทรวงเกษตรฯ และสถาบันการศึกษาต่างๆ นั้น เนื่องจากเป็นสถานที่ราชการ จึงควรไปไหว้ในวันและเวลาราชการจะดีกว่า

ส่วนเทวรูปและวัตถุมงคล ที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดในการจัดหามาบูชา ณ เวลานี้ คือ พระนารายณ์ทรงครุฑ พระพรหมทรงหงส์ และพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ก็ขึ้นอยู่กับศรัทธานะครับ ว่าจะเลือกองค์ไหน

คือถ้าจะตั้งเป็นพระบูชาในบ้าน จะบูชาทั้ง ๔ องค์ก็ได้ แต่ถ้าบูชาหน้ารถหรือติดตัว องค์เดียวก็พอครับ

เรื่องนี้ ผมเอามาเขียนแนะนำแล้ว ก็คงมีเกจิทั้งจริงทั้งปลอม ได้ความคิดไปจัดทัวร์อะไรกันอีก ไม่เป็นไรครับผมไม่ว่า เพราะผมเป็นคนชวนไหว้เอง

แต่ถ้าเป็นพวกวิปริต ที่ชอบเลียนแบบความคิดผมไปหากิน ในขณะเดียวกับที่คอยก่นด่า ใส่ร้ายผมลับหลัง ก็ระวังตัวกันไว้ให้ดีนะครับ

เพราะผมอธิษฐานกับทั้ง ๔ องค์ เผื่อพวกคุณไว้หมดแล้ว

-----------------------

หมายเหตุ : เนื้อหาในบทความนี้ มีลิขสิทธิ์ ใครจะนำไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด

วันเสาร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

รวม Link บทความใน Blog ศรีคุรุเทพมนตรา


เนื้อหาในบทความต่อไปนี้ มีลิขสิทธิ์ 

ใครจะเอาไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด

จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย

และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด



.

เรื่องทั่วไป สินค้า และบริการ


ไหว้ครู 


ศรีคุรุเทพมนตรา


วัตถุมงคล ศรีคุรุเทพมนตรา 



วัตถุมงคล ศรีคุรุเทพมนตรา ปี ๒๕๖๕


การใช้เครื่องหอมบูชาเทพ ด้วยสินค้าของแก้มนวลและ Mystica


ภูมิหลัง อ.กิตติ


บทพระราชนิพนธ์ พระมหาชนก


ภาพเทพนารีอันงดงาม ของ จักรพันธุ์ โปษยกฤต





เทววิทยา


เทววิทยาคืออะไร 

 
คุรุเทพฮินดู


ตรีเอกานุภาพ


เทวีแห่งเซ็กซ์


พระคเณศไม่ใช่เทพแห่งศิลปะ


พระคเณศปางเด็ก


ถาม-ตอบ เรื่องพระคเณศ ตอนที่ ๑


ถาม-ตอบ เรื่องพระคเณศ ตอนที่ ๒


พระพรหมเอราวัณ ลิขิตสวรรค์ที่ไม่มีใครรับฟัง


พระตรีมูรติ : ความผิดพลาดที่ซ้ซาก


พระสรัสวดี พระคายะตรี พระตรีปุระสุนทรี


พระศรีวสุนธรา


พระมณีเมขลา


พระแม่กาลี

 
พระสุนทรีวาณี


ข้อเท็จจริงของจตุคามรามเทพ ๑

 
ข้อเท็จจริงของจตุคามรามเทพ ๒


พระราหู และเทวดานพเคราะห์


อิตถีโพธิสัตว์


พระพิราพ

  
เทวสถานในเมืองไทย





เทววิทยาจีน ญี่ปุ่น


พระโพธิสัตว์กวนอิม เป็นชายหรือหญิงกันแน่


พระแม่หนี่วา


เจ้าแม่ทับทิม


เหอเซียนกู เทพธิดาดอกบัวบาน


ไฉ่สิ่งเอี๊ย  


ถาม-ตอบ เรื่องจันทรเทวีฉางเอ๋อ


คณะเทพโชคลาภแห่งญี่ปุ่น





เทวศาสตร์ พิธีกรรม


รวมคาถาบูชาเทพอินเดีย


การบูชาเทพเพื่อพลังจิต เวทมนต์ และฤทธิ์

https://shreegurudevamantra.blogspot.com/2019/07/blog-post.html

มหาเทพทรงพาหนะ
พระพุทธรูปกับการบูชาเทพ ตอนที่ ๑


พระพุทธรูปกับการบูชาเทพ ตอนที่ ๒


เทพที่ควรบูชากับพระพุทธรูป


การบูชาท้าวเวสสุวัณ


ไหว้เทพปีใหม่


พิธีกรรมเกี่ยวกับเทวรูป


การตั้งและจัดแท่นบูชา


สีของเทวรูป


แต่งองค์เทวรูป


อาวุธเทพเจ้า



 

หลักคิดในการ
บูชาเทพ

ถ้อยคำในมนตรา กับ ครอบครัวขององค์เทพ


ร่างทรง กับ องค์เทพ


เพศที่สามกับเทวศาสตร์


บูชาเทพด้วยเทวตานุสสติ

กุศลบูชา : การถวายบุญแด่องค์เทพ


ปิดทองรูปเคารพ


น้องหมากับเทวศาสตร์





ไสยศาสตร์ มายาศาสตร์


พระฤาษีกไลยโกฏิ


ฤาษี ๑๐๘ และ อินทร์ พรหม ยม กาฬ


พระแม่โพสพ


พระแม่ย่าสุโขทัย


เทพกินรี


ศาสตร์แห่งนางเงือก


นางพญาจิ้งจอกเก้าหาง


ผีสางเทวดา กับ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์


ลูกเทพ


อาถรรพณ์จากการเลี้ยงพราย





สัตว์มงคล


เทพพาหนะ


ช้างเอราวัณ


ราชสีห์ สัญลักษณ์แห่งอำนาจ


ครุฑกับนาค เป็นสัตว์ ไม่ใช่เทพ


พญาครุฑ อานุภาพที่ไร้ผู้ต้านทาน


นกถึดทือ นกเค้าแมวเรียกทรัพย์


ไก่มหาลาภ


กบ คางคก สัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์


แมลงไสยเวท




.........................................


หมายเหตุ : เนื้อหาในบทความนี้ มีลิขสิทธิ์ ใครจะนำไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือทั้งหมด จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด