บทความโดย กิตติ วัฒนะมหาตม์
ภาพจากพิธีเทวาภิเษก พระพิฆเนศ รุ่น มหาบารมี ๓๐ ทัศ หลวงพ่อรักษ์ อนาลโย วัดสุทธาวาสวิปัสสนา จ.พระนครศรีอยุธยา |
เทวรูปทุกชนิด เมื่อได้ปั้น, แกะสลัก หรือหล่อหลอมสำเร็จออกมาจากโรงงาน
แม้จะมีลักษณะทางประติมานวิทยาและองค์ประกอบอื่นๆ ครบถ้วนดังที่
ก็ยังไม่สามารถใช้เป็นสื่อขององค์เทพ หรือนำมาบูชาได้ทันทีนะครับ
ยังคงเป็นเพียงประติมากรรม หรือ ศิลปวัตถุที่ทำเป็นรูปเทพเจ้าต่างๆ
เท่านั้น หาได้มีพลังความศักดิ์สิทธิ์ใดๆ ไม่
การทำให้เทวรูปเหล่านี้มีพลังศักดิ์สิทธิ์
เป็นวัตถุมงคลที่มีอานุภาพเชื่อมโยงระหว่างผู้บูชากับองค์เทพ
จำเป็นจะต้องผ่านพิธีกรรม ที่มีการประจุพลังจิต เวทมนต์ และคาถาอาคมในการอัญเชิญพระนาม
คุณสมบัติ และเทวานุภาพในด้านต่างๆ เข้าในองค์เทวรูปเหล่านั้นเสียก่อนครับ
มีคำศัพท์ในทางพิธีกรรมเกี่ยวแก่รูปเคารพ
ที่คนทั่วไปยังสับสนกันอยู่มาก และผู้บูชาเทพควรจะจดจำไว้ ได้แก่
ภาพจาก http://wetv.co.th |
เบิกเนตร
คือการเรียกอาการ หรือประจุพลังเข้าสู่รูปเคารพ ให้รูปเคารพนั้นเหมือนกับมีทิพยเนตร คือมองเห็นผู้ที่กราบไหว้บูชา
คือการเรียกอาการ หรือประจุพลังเข้าสู่รูปเคารพ ให้รูปเคารพนั้นเหมือนกับมีทิพยเนตร คือมองเห็นผู้ที่กราบไหว้บูชา
วิธีที่นิยมกันคือเอาดินสอดำแบบโบราณวงรอบดวงตาข้างขวาและข้างซ้ายของรูปเคารพ
โดยมีคาถากำกับ นิยมใช้กับรูปเคารพที่มีขนาดใหญ่กว่าขนาดบูชาประจำบ้าน
เป็นขั้นตอนหนึ่งของการเทวาภิเษกและพุทธาภิเษก รวมทั้งมังคลาภิเษกด้วย
ภาพจาก http://www.maeon.ac.th |
พุทธาภิเษก
คือพิธีกรรมทำให้รูปเคารพ หรือวัตถุมงคลประเภทพระพุทธรูป พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ และพระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นขนาดบูชา คือ หน้าตัก ๑ นิ้วขึ้นไป หรือขนาดห้อยคอ, เหรียญ กลายสภาพจากงานประติมากรรมที่ถูกปั้นหล่อขึ้นมา เป็นสื่อที่สามารถประจุและถ่ายทอดสิริมงคลแห่งคุณพระรัตนตรัย หรือบารมีพระโพธิสัตว์ หรือกำลังเทวดาที่รักษาพระพุทธรูป รักษาพระไตรปิฎก รักษาพุทธสถานทั้งปวง หรือญาณทิพย์ของพระเกจิอาจารย์ทั้งหลาย มาสู่ผู้บูชาได้
คือพิธีกรรมทำให้รูปเคารพ หรือวัตถุมงคลประเภทพระพุทธรูป พระอรหันต์ พระโพธิสัตว์ และพระสงฆ์ ไม่ว่าจะเป็นขนาดบูชา คือ หน้าตัก ๑ นิ้วขึ้นไป หรือขนาดห้อยคอ, เหรียญ กลายสภาพจากงานประติมากรรมที่ถูกปั้นหล่อขึ้นมา เป็นสื่อที่สามารถประจุและถ่ายทอดสิริมงคลแห่งคุณพระรัตนตรัย หรือบารมีพระโพธิสัตว์ หรือกำลังเทวดาที่รักษาพระพุทธรูป รักษาพระไตรปิฎก รักษาพุทธสถานทั้งปวง หรือญาณทิพย์ของพระเกจิอาจารย์ทั้งหลาย มาสู่ผู้บูชาได้
เทวาภิเษก
คือพิธีกรรมทำให้รูปเคารพ หรือวัตถุมงคลประเภทเทวรูป ไม่ว่าจะเป็นขนาดบูชา คือ หน้าตัก ๑ นิ้วขึ้นไป หรือขนาดห้อยคอ, เหรียญ และไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธหรือศาสนาใดก็ตาม กลายสภาพจากงานประติมากรรมที่ถูกปั้นหล่อขึ้นมา เป็นสื่อที่สามารถประจุและถ่ายทอดสิริมงคล คุณสมบัติ เทวานุภาพ และพระบารมีขององค์เทพเจ้าต่างๆ มาสู่ผู้บูชาได้
คือพิธีกรรมทำให้รูปเคารพ หรือวัตถุมงคลประเภทเทวรูป ไม่ว่าจะเป็นขนาดบูชา คือ หน้าตัก ๑ นิ้วขึ้นไป หรือขนาดห้อยคอ, เหรียญ และไม่ว่าจะเป็นศาสนาพุทธหรือศาสนาใดก็ตาม กลายสภาพจากงานประติมากรรมที่ถูกปั้นหล่อขึ้นมา เป็นสื่อที่สามารถประจุและถ่ายทอดสิริมงคล คุณสมบัติ เทวานุภาพ และพระบารมีขององค์เทพเจ้าต่างๆ มาสู่ผู้บูชาได้
ภาพจาก http://www.nac2.navy.mi.th |
มังคลาภิเษก
คือพิธีกรรมทำให้รูปเคารพ หรือวัตถุมงคลประเภทพระฤาษี อดีตกษัตริย์ และเจ้านายหรือราชนิกูลในอดีต รวมทั้งวีรบุรุษ วีรสตรี ไม่ว่าจะเป็นขนาดบูชา คือ หน้าตัก ๑ นิ้วขึ้นไป หรือขนาดห้อยคอ, เหรียญ กลายสภาพจากงานประติมากรรมที่ถูกปั้นหล่อขึ้นมา เป็นสื่อที่สามารถประจุและถ่ายทอดญาณบารมี คุณสมบัติ เดชานุภาพ บุญญานุภาพ และพระบารมีของอดีตกษัตริย์ หรือบุคคลนั้นๆ มาสู่ผู้บูชาได้
ภาพจาก http://amulet.goosiam.com |
ปลุกเสก
คือพิธีกรรมทำให้รูปเคารพ หรือวัตถุมงคลประเภทเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ ที่เป็นชั้นผี ไม่ว่าจะเป็นขนาดบูชา คือ หน้าตัก ๑ นิ้วขึ้นไป หรือขนาดห้อยคอ, เหรียญ รวมทั้งเครื่องรางชนิดต่างๆ กลายสภาพจากงานประติมากรรมที่ถูกปั้นหล่อขึ้นมา เป็นสื่อที่สามารถประจุและถ่ายทอดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ของภูตผีเหล่านั้น รวมทั้งพลังจิตของคณาจารย์ผู้ทำวัตถุเครื่องรางเหล่านั้น และพลังอำนาจตามสายวิชาของเครื่องรางเหล่านั้นมาสู่ผู้บูชาได้
คือพิธีกรรมทำให้รูปเคารพ หรือวัตถุมงคลประเภทเจ้าพ่อเจ้าแม่ต่างๆ ที่เป็นชั้นผี ไม่ว่าจะเป็นขนาดบูชา คือ หน้าตัก ๑ นิ้วขึ้นไป หรือขนาดห้อยคอ, เหรียญ รวมทั้งเครื่องรางชนิดต่างๆ กลายสภาพจากงานประติมากรรมที่ถูกปั้นหล่อขึ้นมา เป็นสื่อที่สามารถประจุและถ่ายทอดอิทธิฤทธิ์ต่างๆ ของภูตผีเหล่านั้น รวมทั้งพลังจิตของคณาจารย์ผู้ทำวัตถุเครื่องรางเหล่านั้น และพลังอำนาจตามสายวิชาของเครื่องรางเหล่านั้นมาสู่ผู้บูชาได้
จะเห็นว่า พิธีกรรมที่เกี่ยวกับเทวรูป มีเพียง
๒ อย่าง คือ เบิกเนตร กับ เทวาภิเษก พิธีอื่นนอกเหนือจากนี้ไม่ใช่นะครับ
แต่การเทวาภิเษก
สามารถนิมนต์พระสงฆ์เข้าร่วมพิธีได้ ในลักษณะของการ นั่งปรก
การนั่งปรก
คือการที่พระสงฆ์ผู้มีพลังจิตอันบริสุทธิ์ อันเกิดจากศีลาจาริยวัตรอันงดงาม
ได้อธิษฐานตั้งสมาธิ ประจุกระแสพลังจิตอันมีอานุภาพของท่านเข้าสู่วัตถุมงคล
พลังจิตอันบริสุทธิ์เหล่านี้จะทำให้วัตถุมงคลต่างๆ กลายสภาพจากงานประติมากรรม หรือ
ศิลปวัตถุชิ้นหนึ่ง กลายเป็นรูปเคารพ
หรือวัตถุบูชาที่พร้อมรับการประจุมนต์และพลังอันเกี่ยวเนื่องด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นๆ
โดยเฉพาะ โดยพราหมณ์หรือผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ จะรับหน้าที่ในการประจุมนต์คาถาที่เกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นๆ ต่อไป
เทวรูปและวัตถุมงคลในเมืองไทยที่ผ่านทั้งการนั่งปรกของพระสงฆ์
และพิธีกรรมในสายพราหมณ์ที่ถูกต้อง
จึงมักมีอานุภาพและความศักดิ์สิทธิ์ในระดับสูงกว่าเทวรูปที่ผ่านเพียงพิธีพราหมณ์อย่างเดียว
ตามแบบของเทวศาสตร์อินเดียที่เป็นต้นตำรับ
เพราะมีพื้นฐานคือพลังจิตอันบริสุทธิ์และทรงอานุภาพดังกล่าว ซึ่งพราหมณ์ไม่มี
เทวรูปที่ผ่านพิธีทางเทวศาสตร์อินเดีย
ที่จะมีพลังเข้มขลังเท่าเทวรูปของไทยได้ มักมีแต่เทวรูปที่ผ่านพิธีพราหมณ์ โดยมีฤาษี
และโยคีผู้ทรงฌานสมาบัติจริงๆ ร่วมประจุพลังเท่านั้น
กล่าวคือ
อาศัยพลังจิตของฤาษีและโยคีเหล่านั้นแปรสภาพเทวรูปให้พ้นจากประติมากรรมทั่วๆ
ไปเป็นวัตถุมงคลที่พร้อมรับการประจุพลังศักดิ์สิทธิ์
เหมือนการนั่งปรกของพระสงฆ์ไทยไงล่ะครับ
แต่พิธีกรรมเช่นนี้ ในอินเดียทำกันไม่มากนัก
การเทวาภิเษกเทวรูปในอินเดียส่วนใหญ่กระทำโดยพราหมณ์อย่างเดียวเท่านั้น
ไม่เหมือนการเทวาภิเษกในเมืองไทยที่นิมนต์พระเกจิอาจารย์นั่งปรกกันอยู่เสมอ
แต่ถ้ามีแต่การนั่งปรกอย่างเดียว
ไม่มีการเทวาภิเษกโดยประจุพระนาม และคุณสมบัติต่างๆ ขององค์เทพตามพิธีพราหมณ์ที่ถูกต้อง
เทวรูปนั้นก็เป็นได้แต่เพียงวัตถุมงคลอย่างหนึ่ง
ไม่อาจจะถือว่าเป็นสื่อหรือสิ่งบูชาของเทพองค์ใดได้เช่นกันครับ
ผู้จะรับเทวรูปมาประดิษฐาน
จึงควรจะได้ติดตามสอบค้นประวัติในทางพิธีกรรมเกี่ยวกับเทวรูปองค์นั้นให้แน่นอนเสียก่อนค่อยตัดสินใจ
หรือถ้าได้รับทราบล่วงหน้าว่า
จะมีพิธีกรรมเกี่ยวกับเทวรูปองค์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ที่ไหน
ก็ควรหาโอกาสไปร่วมพิธี และสังเกตดูว่าในการเทวาภิเษกนั้น ได้กระทำพิธีถูกต้อง
เป็นระบบ และเป็นมาตรฐานมากน้อยเพียงใด ฤกษ์ยามในการกระทำพิธีนั้นเป็นอย่างไร
พระเกจิอาจารย์ ปรมาจารย์ผู้กระทำพิธีนั้น
มีความรู้ความชำนาญเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างหรือไม่
ส่วนการบูชาเทวรูปที่ไม่ผ่านพิธีกรรมใดๆ
ตามที่คนไทยเราส่วนมากนิยมทำกัน คือไปซื้อเทวรูปจากร้านสังฆภัณฑ์บ้าง
จากตลาดพระที่ขายเทวรูปจากโรงงาน เช่น ตลาดพระท่าพระจันทร์ ตลาดพระวัดราชนัดดา
หรือตามแผงข้างทางมาตั้งบูชาเลยนั้น เป็นการบูชาที่ไร้ผลนะครับ เนื่องจากเทวรูปที่ไม่ผ่านพิธีย่อมไม่เป็นสื่อที่ทำให้องค์เทพทรงรับรู้การบูชาใดๆ
ที่กระทำต่อเทวรูปนั้น
ภาพจาก http://mahatapsong.blogspot.com |
ทั้งยังจะเป็นช่องทางที่ทำให้มีสัมภเวสีหรือผีเร่ร่อนชนิดต่างๆ
เข้าไปอาศัยในเทวรูป เพื่อคอยกินเครื่องเซ่นไหว้แทน กลายเป็นอาถรรพณ์
และเป็นการบูชาผีโดยเข้าใจผิดว่าเป็นเทพเจ้าด้วยครับ
อีกเรื่องหนึ่งที่ผมเห็นสมควรกล่าวถึง ก็คือ
แม้บางคนจะรู้แล้วว่า เทวรูปบูชาจำเป็นต้องผ่านพิธี แต่ก็ยังมีความคิดอยู่ว่า
จะต้องเป็นพิธีที่ถูกที่สุด หรือถ้าเป็นไปได้ คือไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเลยแม้สักบาทเดียว
ที่ผ่านมา ผู้ที่เช่าเทวรูปจากร้านค้าต่างๆ
ไม่ว่าจะเป็นย่านพาหุรัด หรือตลาดพระวัดราชนัดดา จึงมักมีการบอกต่อๆ
กันให้นำเทวรูปไปให้พราหมณ์เจิมที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ วัดเทพมณเฑียร เสาชิงช้า
และวัดวิษณุ ยานนาวา
คนก็แห่กันเอาเทวรูปไปให้พราหมณ์เหล่านั้นทำพิธี
มีไม่น้อยที่เป็นพวกทำธุรกิจค้าขายเทวรูป ก็ฉวยโอกาสขนกันไปทีเป็นสิบๆ องค์
ชนิดที่ว่า ไม่มีความเกรงใจพราหมณ์
ภาพจาก http://kanchanapisek.co.th |
เพราะเทวรูปที่นำไปนั้น พราหมณ์เจิมให้ทุกองค์
แต่ถึงตอนเจ้าของเทวรูปบริจาคเงินตอบแทน กลับมีหลายคนที่บริจาคเพียงเล็กน้อย ไม่กี่สิบบาท
ถ้ายังเป็นเด็กมัธยมปลาย หรือนักศึกษา ก็อ้างว่าฐานะยากจนบ้าง หรือยังเรียนอยู่
ไม่มีเงินบ้าง
แต่คนกลุ่มเดียวกันนี้
มีเงินไปกินฟาสต์ฟู้ดมื้อละหลายๆ ร้อยบาทได้นะครับ
ผมดูมานานแล้ว เห็นว่าสังคมผู้บูชาเทพของเรา
กำลังเอาเปรียบ ฉกฉวยประโยชน์จากความใจดีของพราหมณ์ เพราะพราหมณ์ไม่เรียกร้อง
เทวสถานทั้ง ๓
แห่งที่กล่าวมาจึงกลายเป็นเหยื่อของพวกบูชาเทพแบบมักง่ายที่ชอบของฟรี
หรืออยากได้เทวรูปที่ผ่านพิธีถูกต้องแต่ไม่อยากจ่ายแพงมาตลอด
จึงอยากฝากถึงทุกท่าน ที่กำลังจะชักชวนหรือแนะนำใคร
ให้นำเทวรูปไปเจิมที่เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ วัดเทพมณเฑียร วัดวิษณุ หรือวัดอะไรก็ตาม
ให้พยายามทำบุญให้เหมาะสมกับปริมาณหรือขนาดของเทวรูปที่นำไปเจิมนั้นด้วยนะครับ
ถ้าไม่แน่ใจว่า อัตราใดจึงจะเหมาะสม
ผมมีข้อแนะนำ คือเอาราคาที่เช่าบูชาเทวรูปองค์นั้นมาเป็นเกณฑ์
เช่น สมมุติว่าเช่าเทวรูปซิลิก้าขนาด ๕
นิ้วมาจากวัดราชนัดดา ราคา ๓๐๐ บาท เมื่อนำเทวรูปนั้นไปให้พราหมณ์เจิม
ก็ควรบริจาคเงินไม่น้อยกว่านั้น
แล้วถ้ายกไป ๗ องค์ สมมุติว่าองค์ละ ๓๐๐ บาท
ก็ควรบริจาคอย่างต่ำ ๒,๑๐๐ บาท
ซึ่งตามธรรมเนียมไทยเราในเรื่องเช่นนี้
เรานิยมปัดเศษขึ้นด้วยซ้ำ เพราะถือว่าเป็นการทำบุญครับ
ดังนั้นถ้าสมควรต้องบริจาคอย่างต่ำ ๒,๑๐๐ บาท เราก็ควรจะปัดเศษขึ้น เป็นบริจาคจริง ๒,๕๐๐
บาท หรือ ๓,๐๐๐ บาทด้วยซ้ำไป
แล้วแต่ผู้บริจาคจะเห็นว่าเหมาะสม
ภาพจาก http://www.youtube.com |
ความเหมาะสมในการทำบุญ เมื่อนำเทวรูปไปให้พราหมณ์เจิม
เราจะอ้างว่าทำตามกำลังทรัพย์ของเรา หรือตามกำลังศรัทธาไม่ได้
เพราะถ้าเรามีปัญญาซื้อเทวรูป
และอยากจะบูชาเทพให้ดีๆ เราควรมีปัญญาตอบแทนผู้อื่นในการทำสิ่งดีๆ ให้แก่เรา
โดยเฉพาะการทำให้เราได้เทวรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ และทำให้เราได้รับพรจากการบูชา
ในระดับที่เงินมากมายมหาศาลเพียงใดก็หาซื้อไม่ได้
อีกทั้งคนที่จงใจทำบุญตอบแทนเพียงเล็กน้อย โดยอ้างว่าทำไปตามกำลังศรัทธานั้น
ส่วนใหญ่เมื่อเวลาจะใช้จ่ายเงินเพื่อการอื่นที่ไม่จำเป็น กลับจ่ายได้ไม่อั้น
แต่พอจะบูชาเทพ ก็จะพยายามหาซื้อเทวรูปองค์ที่ถูกที่สุด แล้วก็พยายามหาทางจ่ายค่าพิธีอย่างถูกที่สุด
ดังที่กล่าวแล้วครับ
ผมบอกตรงๆ ที่ต้องพูดเรื่องนี้
เพราะเห็นพฤติกรรมเช่นนี้ตลอดระยะเวลากว่า ๒๐ ปีที่อยู่ในวงการนี้มา
การที่เทวสถานแห่งใดก็ตาม กลายเป็นที่ตักตวงผลประโยชน์จากนักบูชาเทพที่มักง่ายนั้น
เป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เทวสถานนั้นเสื่อมถอยจากความเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
อันเป็นที่พึ่งทางใจของผู้บูชาเทพในสังคมของเราได้
เหตุปัจจัยดังกล่าว ก็คืออัปมงคล
ที่ส่วนหนึ่งเกิดขึ้นจากความโลภ เอาแต่ได้
และมักง่ายของคนจำนวนไม่น้อยที่เข้าไปตักตวงผลประโยชน์จากทางเทวสถานอย่างไม่มีความละอายนั่นเองครับ
...............................
...............................
หมายเหตุ :
เนื้อหาในบทความนี้ มีลิขสิทธิ์ ใครจะนำไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมด จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย
และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด
วงการบูชาเทพในเมืองไทยจึงไม่เจริญก้าวหน้า ส่วนใหญ่ก็หันกลับไปหาพวกมนต์ดำที่ให้ผลตอบแทนเร็วทันใจ (แต่จ่ายแพงทีหลังไม่รู้จักคิด)
ตอบลบคือพอได้ผลทันใจก็จ่ายได้ไม่อั้นละค่ะ ไม่เกี่ยงแล้วละว่าถูกหรือแพง ขอให้โดนใจตอนนั้นเป็นพอ ไม่ต้องคิดไกลๆ หรือคิดถึงผลระยะยาวด้วยค่ะ เพราะคิดไม่เป็น
ลบได้ความรู้เรื่องพิธีต่างๆ ดีมากค่ะ+แอบสมเพชพวกขี้งกขี้ตืดแม้กระทั่งกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ตอบลบคนที่ขี้งกแม้กระทั่งกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไม่มีทางเจริญหรอกค่ะ
ลบการเบิกเนตรที่วัดเทพมณเฑียรไ้มีการกำหนดขันตอนใหม่แล้วครับ เริ่มต้นที่จะต้องไปทำการติดต่อที่สำนักงานก่อนที่จะไปหาพราหมณ์เพื่อให้ทางสำนักงานแจ้งพราหมณ์เพื่อประกอบพิธีให้ หากไปหาพราหมณ์โดยครงแล้ว พราหมณ์จะไม่รับการประกอบพิธีให้ครับ และมรการกำหนดว่าจะประกอบพิธีได้โดยจำกัดจำนวนองค์ต่อท่านเพื่อป้องกันการนำไปทำเป็นธุรกิจ
ตอบลบขอบคุณที่นำมาบอกกล่าวกันค่ะ ^ ^
ลบนับเป็นข่าวดีมากมาย ไม่งั้นก็จะเป็นช่องทางให้คนหน้าด้านเอาเปรียบพราหมณ์อย่างไม่มีความละอายแก่ใจ
นอกจากประกอบพิธีโดยจำกัดจำนวนองค์ท่าน ก็น่าจะคิดค่าพิธีให้เต็มที่ด้วยนะคะ ป้องกันทั้งพวกร้านค้าเทวรูป และพวกขี้งก