บทความโดย กิตติ วัฒนะมหาตม์
แม้ว่า เราจะมีหลักฐานทางโบราณคดี ที่ยืนยันได้ถึงความเก่าแก่ ของคติการบูชาองค์จตุคามรามเทพในเมืองไทยแล้ว
การวิเคราะห์ว่า ท้าวขัตตุคาม และ ท้าวรามเทพ
ซึ่งเราได้รับมาพร้อมกับศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์นี้ แท้ที่จริงเป็นเทพองค์ใดกันแน่
ก็ยังคงเป็นปัญหาที่เราคงจะต้องขบคิดกันต่อไปอีก
ซึ่งเทพองค์แรกที่เราจะมาไขปริศนากัน คือ ท้าวขัตตุคาม
ซึ่ง อ.ไมเคิล ไรท์ อธิบายว่าคือ พระสกันท์ (Skanda) ในศาสนาฮินดูครับ
อ.พงศ์เกษม สนธิไทย ผู้เชี่ยวชาญจารึกภาษามอญและภาษาไทยโบราณ
อธิบายว่า คำว่า Kottukaram และ Guttugara
ซึ่งแปลโดยสำนวนได้ว่า เสนาบดี คือผู้เป็นใหญ่แห่งเสนานั้น
เป็นคำที่ตรงกับพระนามของ พระสกันท์ เทพเจ้าแห่งสงคราม
ขุนศึกหรือหัวหน้าของไพร่พลแห่งพระศิวะ
พระสกันท์ทรงได้รับความนับถืออย่างแพร่หลายในอินเดียใต้
จนกล่าวได้ว่าแม้เป็นหมู่บ้านในชนบทที่อยู่ห่างไกลและทุรกันดารเพียงใด
ก็จะพบเทวรูปของพระองค์อยู่เสมอ
เทพเจ้าองค์นี้ทรงมีหลายพระนามที่เรียกกันทั่วไป
พระนามที่คนอินเดียใต้นิยมกันมาก คือ พระสุพรหมัณย์ (Subrahmanya)
นอกจากนี้ก็มี พระกรรติเกยะ (Kartikeya)
ซึ่งนิยมกันทั่วไปในอินเดียและศรีลังกา และ พระมุรุกัณ (Murugan)
ซึ่งนิยมกันในหมู่ชาวฮินดูในมาเลเซีย
ขณะที่ไทยเรานิยมเรียกว่า พระขันธกุมาร
กล่าวโดยทางเทววิทยาแล้ว
คติการบูชาพระสกันท์นี้มีพื้นฐานมาจาก ลัทธิบูชาพระอาทิตย์ หรือ พระสุริยเทพ
ของชนพื้นเมืองในอินเดียใต้สมัยโบราณ โดยนักเทววิทยาบางท่านให้รายละเอียดว่า
เป็นเทพที่นับถือกันอยู่ในพวกทมิฬ (Tamil) และมาลายาลัม
(Malayalam)
ต่อมาในยุคที่ศาสนาพราหมณ์กลายรูปเป็นศาสนาฮินดูจึงถูกลดบทบาทลงเป็นเทพชั้นรอง
แต่ก็ยังมีร่องรอยความสัมพันธ์กับสุริยเทพอยู่
ดังที่มหาภารตะกล่าวว่าทรงเป็นโอรสของพระอัคนี
ในขณะที่คัมภีร์ปุราณะ (Purana) ส่วนใหญ่จะกล่าวว่าทรงเป็นโอรสของพระศิวะ
ในเทววิทยาฮินดูบรรยายว่า
พระสกันท์นั้นทรงมีลักษณะเป็นกุมารหรือเด็กหนุ่มอยู่ตลอดกาล ทรงมี ๖ เศียร ๑๒ กร กายสีทอง
ทรงหอกหรือดาบเป็นอาวุธ ทรงนกยูงเป็นพาหนะ ทรงถือไก่อยู่ในพระหัตถ์
หรือมีธงรูปไก่เป็นธงประจำพระองค์
แม้ว่าบทบาทสำคัญของพระองค์ในศาสนาฮินดูคือการเป็นเทพสงคราม
แต่ อ.พงศ์เกษม สนธิไทย ก็ชี้ให้เห็นว่า
เทวลักษณะที่บรรยายมาทั้งหมดนี้กลับยังคงเป็นสัญลักษณ์ที่เกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์ทั้งสิ้น
กล่าวคือ
พระมุรุกัณองค์ใหญ่ที่สุดในโลก หน้าถ้ำบาตู มาเลเซีย |
เศียรทั้ง ๖ หมายถึง ฤดูกาลทั้ง ๖ ของอินเดีย
กรทั้ง ๑๒ คือจำนวนเดือนใน ๑
ปีตามปฏิทินทางสุริยคติ
หอกและดาบ คือ รัศมี
หรือความรุ่งโรจน์ของพระอาทิตย์
โดยเฉพาะหอกซึ่งเป็นสัญลักษณ์ประจำองค์พระสกันท์
อันมีนามว่า ศักตยายุทธ นั้น ในทางปุราณะอธิบายว่า
พระวิศวกรรมทรงสร้างขึ้นจากรัศมีของดวงอาทิตย์ที่ร้อนแรงเกินไป
เป็นการแสดงความเกี่ยวข้องกับดวงอาทิตย์อย่างชัดเจน
นกยูง
เป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ในวัฒนธรรมของชาวอินเดียมาแต่โบราณเช่นกัน
ไก่ คือผู้ขันเรียกดวงอาทิตย์ในเวลาเช้า
ก็เกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์อีก
ความเป็นเด็กหรือเยาว์วัย คือ
สัญลักษณ์ของยามเช้า หรือพระอาทิตย์ซึ่งจะขึ้นใหม่ทุกวัน
กายสีทอง ก็คือ สีแห่งดวงอาทิตย์นั่นเอง
แสดงว่า ทิพยภาวะของพระสกันท์ที่ทรงเคยเป็นสุริยเทพในศาสนาพื้นเมืองของชาวอินเดียใต้มาก่อนนั้น
ไม่เคยเสื่อมสูญไปเลยนะครับ
แม้เมื่อศาสนาฮินดูเจริญรุ่งเรืองขึ้น ทิพยภาวะและคุณสมบัติดั้งเดิมของพระสกันท์ ก็ยังคงอยู่รอดได้ในศาสนาฮินดูอย่างเด่นชัดถึงเพียงนี้ เป็นเรื่องพิเศษซึ่งไม่ปรากฏกับเทพองค์อื่นมากนัก
แม้เมื่อศาสนาฮินดูเจริญรุ่งเรืองขึ้น ทิพยภาวะและคุณสมบัติดั้งเดิมของพระสกันท์ ก็ยังคงอยู่รอดได้ในศาสนาฮินดูอย่างเด่นชัดถึงเพียงนี้ เป็นเรื่องพิเศษซึ่งไม่ปรากฏกับเทพองค์อื่นมากนัก
แล้วพระสกันท์ อดีตพระสุริยเทพของชาวทมิฬ
โอรสพระศิวะในศาสนาฮินดู กลายเป็นหนึ่งในเทวราชทั้ง ๔ ผู้รักษาเกาะลังกา
จนคนไทยเรารับคติการบูชาพระองค์ภายใต้พระนามว่า ขัตตุคาม ได้อย่างไร?
คำตอบก็อยู่ที่ลังกานั่นเองละครับ
และยังคงอยู่ที่นั่นมาจนทุกวันนี้
ในเทววิทยาของชาวลังกา
ซึ่งชาวฮินดูในอินเดียก็ยอมรับกันทั่วไปนั้น กล่าวว่านอกจากพระนางเทวเสนาแล้ว
พระสกันท์ทรงมีชายาอีกองค์หนึ่งเป็นเจ้าหญิงลังกา คือ พระนางวัลลี (Valli)
โดยเหตุที่จะได้พบกันนั้น เล่ากันว่าปัทมาสูร
ซึ่งเป็นพญาอสูรของลังกาทำสงครามชนะเหล่าเทพ พระศิวะจึงส่งพระสกันท์ไปปราบ
หลังจากนั้นพระสกันท์ก็ได้พบเจ้าหญิงวัลลีและในที่สุดได้เสกสมรสกัน
ทั้งสองพระองค์ได้ไปสร้างปราสาทไว้ตรงบริเวณที่พบกัน
ณ ริมฝั่งแม่น้ำมานิก สถานที่แห่งนั้นจึงได้นามต่อมาว่า กรรติเกยะคาม (Kartikeyagama)
และในที่สุดย่อลงเหลือเพียง กัตรคาม (Kataragama) หมายถึงหมู่บ้านของพระกรรติเกยะ ภายหลังมีการสร้างเทวาลัยขึ้นมา เรียกว่า เทวาลัยกัตรคาม
และในที่สุดย่อลงเหลือเพียง กัตรคาม (Kataragama) หมายถึงหมู่บ้านของพระกรรติเกยะ ภายหลังมีการสร้างเทวาลัยขึ้นมา เรียกว่า เทวาลัยกัตรคาม
ภายในเทวาลัยกัตรคาม |
เทวาลัยกัตรคามแห่งนี้
เป็นเทวสถานของพระสกันท์ที่เก่าแก่ที่สุดในศรีลังกาครับ
โดยมีประวัติว่า พระเจ้าทุฎฐคามณี (Duttagamani) กษัตริย์ชาวพุทธทรงบูรณะเทวสถานนี้ขึ้นมา เพื่ออุทิศแด่พระสกันท์ ผู้ทรงดลบันดาลให้พระองค์รบชนะ พระเจ้าเอลารา (Elara) กษัตริย์ทมิฬจากอินเดียใต้ที่ยกกองทัพมารุกรานเกาะลังกา
โดยมีประวัติว่า พระเจ้าทุฎฐคามณี (Duttagamani) กษัตริย์ชาวพุทธทรงบูรณะเทวสถานนี้ขึ้นมา เพื่ออุทิศแด่พระสกันท์ ผู้ทรงดลบันดาลให้พระองค์รบชนะ พระเจ้าเอลารา (Elara) กษัตริย์ทมิฬจากอินเดียใต้ที่ยกกองทัพมารุกรานเกาะลังกา
โดยนัยนี้ พระสกันท์ซึ่งเป็นเทพฮินดูจึงกลายเป็นหนึ่งในสี่เทวราชผู้รักษาเกาะลังกา
โดยการสถาปนาของกษัตริย์ชาวพุทธ ผู้รบชนะชาวทมิฬที่นับถือศาสนาฮินดู
ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าพิศวงมากครับ
แต่ก็เป็นไปแล้ว
และชาวทมิฬในศรีลังกาเองก็กลับยังคงสักการบูชาพระองค์ไม่เสื่อมคลายเช่นเดียวกันจนทุกวันนี้
ดังเราจะพบว่า ทั่วทั้งเกาะลังกายังมีเทวาลัยสำหรับพระสกันท์อยู่ในที่อื่นๆ
อีกเป็นร้อยแห่ง โดยเฉพาะทางภาคเหนือและภาคใต้ของเกาะ
ซึ่งชนชาติทมิฬได้ตั้งหลักแหล่งกันอยู่หนาแน่น
ในบรรดาเทวาลัยเหล่านั้นมีหลายแห่งที่สร้างอย่างใหญ่โตและมีชื่อเสียงมากครับ
แต่ทุกปี
ชาวทมิฬในลังกาก็จะพากันไปยังเทวาลัยกัตรคาม
และประกอบพิธีร่วมกับชาวพุทธในเทศกาลสำคัญของที่นั่น
จนกลายเป็นเทวสถานที่ได้รับความนิยมบูชาสูงสุดแห่งหนึ่งมาจนปัจจุบันนี้
ซึ่งแม้แต่ชาวต่างชาติก็รู้จักกันทั่วไป
ดังที่ท่านภิกษุณีธัมมนันทาจากเมืองไทย กล่าวไว้ในบทความบทหนึ่งของท่านว่า
เป็นเทวาลัยที่มีชื่อเสียงที่สุดแห่งหนึ่ง
เหตุที่เทวาลัยกัตรคามได้รับความนิยมเป็นอันมากดังกล่าว
เป็นเพราะความศักดิ์สิทธิ์ซึ่งชาวศรีลังการับรู้กันทั่วไปครับ
ดังมีบันทึกไว้ว่า ในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่
๑๖ ชาวโปรตุเกสได้พยายามเข้าปล้นสะดมเทวสถานแห่งนี้ ซึ่งพวกเขาเรียกว่า Categao
อยู่หลายครั้ง
ด้วยเหตุที่พวกเขาได้ยินว่าภายในเทวสถานเต็มไปด้วยทองคำ เพชรพลอย
และหินมีค่าที่มีผู้นำมาถวายเป็นเครื่องบูชาจำนวนมาก
แต่เทวสถานแห่งนี้ก็มีทหาร ๕๐๐
นายที่มีอาวุธครบมือเฝ้าอยู่เป็นประจำ
พวกโปรตุเกสเพียรพยายามเข้าโจมตีหลายครั้งก็ไม่ประสบความสำเร็จ
จนกระทั่งในปีค.ศ.๑๖๔๒ ทหารโปรตุเกส ๑๕๐
นายร่วมกับผู้เข้ารีตอีก ๒,๐๐๐
คนได้เข้าไปถึงสถานที่ตั้งของเทวสถาน ด้วยกำลังพลจำนวนมากขนาดนี้ย่อมเป็นอันหมดหวังสำหรับกองทหาร
๕๐๐ นายที่อารักขาเทวสถานอยู่จะต้านทานได้หากมีการปะทะกัน
แต่กองทัพโปรตุเกสกลับถูกบดบังด้วยอำนาจลึกลับบางอย่าง
จนทำให้ไม่สามารถค้นหาเทวสถานพบ และพากันหลงวนเวียนกันอยู่ในป่าผืนเล็กๆ
นั้นเป็นเวลานาน
พวกโปรตุเกสได้ฆ่าคนนำทางพื้นเมือง ๓ ใน ๕ คนเพราะคิดว่าพวกเขาทรยศ แต่อีกสองคนที่เหลือก็พากันเสียสติ และในที่สุดทั้งกองทัพต้องพากันเดินทางกลับ
พวกโปรตุเกสได้ฆ่าคนนำทางพื้นเมือง ๓ ใน ๕ คนเพราะคิดว่าพวกเขาทรยศ แต่อีกสองคนที่เหลือก็พากันเสียสติ และในที่สุดทั้งกองทัพต้องพากันเดินทางกลับ
บันทึกซึ่งกล่าวถึงพลัง ที่อาจจะเรียกได้ว่าเป็นความศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริงของเทวาลัยกัตรคาม ดังที่กล่าวมานี้
มิได้เขียนขึ้นโดยชาวศรีลังกานะครับ แต่เขียนโดยนักจดหมายเหตุโปรตุเกส ที่มีนามว่า Ribeiro
และคำว่า กัตรคาม
อันเป็นชื่อของเทวาลัยแห่งนี้เอง ต่อมาได้กลายเป็นพระนามหนึ่งของพระสกันท์ คือ
พระกัตรคาม ที่ชาวลังกาเรียกกันทั่วไปเมื่อประสงค์จะกล่าวถึงเทวรูปพระสกันท์ ณ
เทวาลัยกัตรคาม
เมื่อพระนามนี้เป็นที่รู้จักของคนไทย
ก็กลายมาเป็น พระกามเทพ ในนิทานพระพุทธสิหิงค์, ท้าวขัตตคามเทวราช
ในชินกาลมาลีปกรณ์และในจารึกบนรอยพระพุทธบาทสมัยสุโขทัย, พระขัตุคามี
ในโองการลุยเพลิงสมัยอยุธยา และ ท้าวขัตตุคาม ในวิหารมหาภิเนษกรมณ์
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร
อ.พงศ์เกษม ยังวิเคราะห์เกี่ยวกับคำว่า
ขัตตุคาม,
ขัตตคาม และ จตุคาม ไว้ด้วยว่า หากอธิบายด้วยหลักภาษาศาสตร์ อักษร ข. นั้น สามารถแทน จ. และ ค.ได้
การที่ พล.ต.ต.ขุนพันธรักษ์ราชเดช
จอมขมังเวทย์แห่งเมืองนครฯ ได้บัญญัติพระนาม จตุคามรามเทพ
ขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อพ.ศ.๒๕๒๘ จึงไม่ใช่ความผิดพลาดแต่อย่างใด
เพราะสามารถอธิบายได้ด้วยหลักการทางภาษาศาสตร์ดังกล่าวครับ
และในส่วนของเทวราชอีกองค์หนึ่ง คือ ท้าวรามเทพ
นั้น ก็มิใช่อื่นใดเลย พระองค์ก็คือ พระราม (Rama)
ที่คนไทยเรารู้จักกันเป็นอย่างดีอยู่แล้วจากเรื่องรามเกียรติ์
และในโลกแห่งความเป็นจริง
ก็ทรงเป็นเทพที่ได้รับความนิยมนับถือมากที่สุดองค์หนึ่งในอินเดียแม้จนทุกวันนี้
โดยเฉพาะในอินเดียใต้นั้นทรงเป็นหนึ่งในเทพที่ได้รับการบูชามากที่สุด
เรื่องราวอันแท้จริงของพระรามนั้น
ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะทำให้ทราบความเป็นมาอย่างแน่ชัดครับ
มีเพียงข้อสันนิษฐานของนักโบราณคดีและนักเทววิทยาบางท่านว่า อาจเป็นวีรุบุรุษหรือผู้นำชนเผ่าอารยัน หรือไม่ก็เผ่าทมิฬเผ่าใดเผ่าหนึ่ง ซึ่งนำชาวทมิฬเข้าไปยึดครองและตั้งรกรากในเกาะลังกา จนเป็นต้นเค้าของมหากาพย์รามายณะ (Ramayana) อันเป็นบทประพันธ์ของมหาฤาษีวาลมีกิ
มีเพียงข้อสันนิษฐานของนักโบราณคดีและนักเทววิทยาบางท่านว่า อาจเป็นวีรุบุรุษหรือผู้นำชนเผ่าอารยัน หรือไม่ก็เผ่าทมิฬเผ่าใดเผ่าหนึ่ง ซึ่งนำชาวทมิฬเข้าไปยึดครองและตั้งรกรากในเกาะลังกา จนเป็นต้นเค้าของมหากาพย์รามายณะ (Ramayana) อันเป็นบทประพันธ์ของมหาฤาษีวาลมีกิ
มีหลักฐานหลายอย่างที่บ่งชี้ว่า
คติการนับถือพระรามได้มีอยู่แล้วในแคว้นต่างๆ
ของอินเดียภาคกลางและภาคใต้ในช่วงปลายยุคของศาสนาพราหมณ์
และในช่วงหลังพุทธกาล
ความนิยมบูชาเทพเจ้าองค์นี้ปรากฏเด่นชัดขึ้น
จนพราหมณาจารย์ในศาสนาฮินดูลัทธิไวษณพนิกายนำพระองค์ไปรวมเข้าเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ
โดยรักษาเนื้อเรื่องเดิมไว้ทั้งหมด
เพียงแต่กล่าวเพิ่มเติมว่าเป็นอวตารของพระนารายณ์
แล้วเพิ่มเติมรายละเอียดปลีกย่อยขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกันเท่านั้น
และด้วยเหตุนั้น
เทวสถานของศาสนาฮินดูฝ่ายไวษณพนิกายโดยทั่วไป
ทั้งในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จึงมักมีเทวรูปพระรามประดิษฐานร่วมอยู่ด้วยเสมอ
แม้แต่ในประเทศไทยของเราก็ทำเช่นนี้
ดังปรากฏอยู่ที่ วัดเทพมณเฑียร เสาชิงช้า, วัดวิษณุฮินดูธรรมสภา
ยานนาวา และ วัดเทพมณเฑียร เชียงใหม่ครับ
แต่แม้คติการบูชาพระรามจะมีหลักฐานว่า
ได้แพร่หลายจากอินเดียใต้มาถึงประเทศไทยแล้ว ตั้งแต่ก่อนสมัยอยุธยาพร้อมกับศาสนาฮินดู
หากคติที่ทำให้พระองค์ ได้เข้ามาสู่เมืองไทยในอีกลักษณะหนึ่ง คือในรูปของท้าวรามเทพนั้น เป็นคติที่มาจากลังกา พร้อมกับศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์ครับ
หากคติที่ทำให้พระองค์ ได้เข้ามาสู่เมืองไทยในอีกลักษณะหนึ่ง คือในรูปของท้าวรามเทพนั้น เป็นคติที่มาจากลังกา พร้อมกับศาสนาพุทธนิกายลังกาวงศ์ครับ
ชาวศรีลังกานับถือพระรามเช่นเดียวกับชาวทมิฬในอินเดียใต้
และคนศรีลังกาที่นับถือพระรามก็มีทั้งคนทมิฬที่นับถือศาสนาฮินดู
และคนสิงหลที่นับถือศาสนาพุทธ
โดยในภาษาพื้นเมืองศรีลังกานั้น
จะเรียกพระรามว่า อูปูลวัน หรือ พระอุบลวรรณ ตามลักษณะสีผิวของพระองค์นั่นเอง
ชาวศรีลังกายกย่องให้พระองค์เป็นหนึ่งเทวราชทั้งสี่องค์ผู้รักษาเกาะลังกา เช่นเดียวกับพระสกันท์ดังที่กล่าวมาแล้ว
ชาวศรีลังกายกย่องให้พระองค์เป็นหนึ่งเทวราชทั้งสี่องค์ผู้รักษาเกาะลังกา เช่นเดียวกับพระสกันท์ดังที่กล่าวมาแล้ว
เทวสถานของพระรามที่เก่าแก่และมีชื่อเสียงที่สุดในศรีลังกา
ตั้งอยู่ที่แหลมดอนดรา (Dondra) ทางใต้สุดของเกาะ
มีชื่อเรียกอยู่ในปัจจุบันนี้ว่า เทวาลัยเดวินูวารา (Devi Nuwara) หรือ อุบลวรรณเทวาลัย (Upulvan Devala)
ตามประวัติว่า สร้างโดยพระเจ้าดัปปูลาที่ ๑ (Dappula I) พร้อมกับพุทธสถานที่มีชื่อว่า Kehureli Vihara และพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๒ (Parakramabahu II) ทรงรับศาสนสถานทั้งสองแห่งไว้ในพระราชูปถัมภ์
ตามประวัติว่า สร้างโดยพระเจ้าดัปปูลาที่ ๑ (Dappula I) พร้อมกับพุทธสถานที่มีชื่อว่า Kehureli Vihara และพระเจ้าปรากรมพาหุที่ ๒ (Parakramabahu II) ทรงรับศาสนสถานทั้งสองแห่งไว้ในพระราชูปถัมภ์
ยุคสมัยดังกล่าวแหลมดอนดรากลายเป็นเมืองท่าที่เจริญรุ่งเรือง
และยังผลให้กษัตริย์รวมทั้งพระราชวงศ์ในรัชกาลต่อมาพากันสร้างเทวสถานและพุทธสถานขึ้นที่นี่เป็นอันมาก
พระราม
ซึ่งเป็นเทวราชแห่งเทวาลัยเดวินูวารานั้น แม้จะเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดูมาก่อน
แต่ตามคติลังกาก็ถือว่าทรงเป็นเทพในศาสนาพุทธ
เช่นเดียวกับเทพฮินดูอีกหลายองค์ที่ชาวศรีลังกานับถือและยกย่องให้เป็นเทพในศาสนาพุทธ
เช่น พระคเณศและพระสกันท์
เทพเหล่านี้มีเทวสถานของพระองค์และได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ลังกาอย่างต่อเนื่องเท่าเทียมกับพระพุทธรูปในพุทธสถานต่างๆ
เทพเหล่านี้มีเทวสถานของพระองค์และได้รับการอุปถัมภ์จากกษัตริย์ลังกาอย่างต่อเนื่องเท่าเทียมกับพระพุทธรูปในพุทธสถานต่างๆ
เมื่อโปรตุเกสเข้ายึดครองศรีลังกาในคริสต์ศตวรรษที่
๑๖ นั้น พุทธสถานและเทวสถานทั่วเกาะลังกาถูกปล้นสะดมและเผาทำลายพินาศย่อยยับ
มีเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้นที่รอดไปได้ เช่นเทวาลัยกัตรคามดังกล่าวแล้ว
แต่เทวาลัยเดวินูวาราไม่โชคดีอย่างนั้นครับ
เทวสถานดังกล่าว ถูกพวกโปรตุเกสล้างผลาญจนพินาศสิ้นในค.ศ.๑๕๘๘
เหลือเพียงเสาไม่กี่ต้น
ในภายหลังจึงมีการสร้างเทวสถานขึ้นใหม่ใกล้กับซากที่เหลือของเทวสถานเดิม
เทวสถานใหม่นี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก และพระเป็นเจ้าสูงสุดของเทวสถานก็เปลี่ยนไปเป็น พระวิษณุ ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
เทวสถานใหม่นี้เป็นสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก และพระเป็นเจ้าสูงสุดของเทวสถานก็เปลี่ยนไปเป็น พระวิษณุ ดังที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
ดังนั้น
ไทยเราจึงมิได้เป็นแต่เพียงผู้รับคติเกี่ยวกับพระราม หรือท้าวรามเทพจากลังกา
ดังปรากฏเป็นหลักฐานไม่ว่าจะในหนังสือนิทานพระพุทธสิหิงค์ ชินกาลมาลีปกรณ์
โองการลุยเพลิงสมัยกรุงศรีอยุธยา
จนต่อเนื่องมาถึงเทวรูปอีกองค์หนึ่งบนบานประตูไม้จำหลักในวิหารมหาภิเนษกรณ์ที่วัดพระธาตุวรมหาวิหารเท่านั้นนะครับ
เรายังเป็นเพียงแหล่งเดียวในโลกขณะนี้ ที่สามารถรักษาคติดั้งเดิมที่สุดนั้นไว้ได้ด้วย
ในขณะที่ทางลังกาเอง ณ
เทวสถานอันเก่าแก่ที่สุดซึ่งเป็นต้นธารของคตินั้นกลับสูญสิ้นไป
แม้ในศรีลังกาขณะนี้
จะยังนับถือพระอุบลวรรณเป็นหนึ่งในสี่เทวราชผู้รักษาเกาะดุจเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
แต่จากสภาพปัจจุบัน เทวาลัยที่เดวินูวาราก็มิได้เป็นของพระองค์อีกต่อไปแล้วครับ
แต่จากสภาพปัจจุบัน เทวาลัยที่เดวินูวาราก็มิได้เป็นของพระองค์อีกต่อไปแล้วครับ
หากแม้เราจะรับเทพารักษ์แห่งเกาะลังกาเข้ามาพร้อมกันถึง
๔ องค์ ดังที่ผมกล่าวแล้วในบทความก่อนหน้านี้
แต่ก็ปรากฏชัดว่า ในทางคติความเชื่อหรือพิธีกรรมอย่างแท้จริงแล้ว กลับเหลืออยู่เพียงท้าวขัตตุคาม และท้าวรามเทพเท่านั้นที่ยังคงได้รับการอ้างอิงอยู่ในเทววิทยาของไทยเรา ส่วนเทพารักษ์ในคณะเดียวกันอีกสององค์กลับเสื่อมสูญไปสิ้น
แต่ก็ปรากฏชัดว่า ในทางคติความเชื่อหรือพิธีกรรมอย่างแท้จริงแล้ว กลับเหลืออยู่เพียงท้าวขัตตุคาม และท้าวรามเทพเท่านั้นที่ยังคงได้รับการอ้างอิงอยู่ในเทววิทยาของไทยเรา ส่วนเทพารักษ์ในคณะเดียวกันอีกสององค์กลับเสื่อมสูญไปสิ้น
การที่เป็นเช่นนี้
ส่วนหนึ่งคงมีเหตุมาจากทางลังกาเองครับ
เป็นต้นว่า กรณีของท้าวลักขณาเทวราช
หรือท้าวลักษณเทพ ตามคำอธิบายของ อ.ไมเคิล ไรท์
ก็คือในระยะที่พุทธศาสนาลังกาวงศ์กำลังเป็นที่สนใจของกษัตริย์ในภูมิภาคอุษาคเนย์ คือช่วงราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ นั้น
เมืองแคนดีอันเป็นเมืองหลักของคติการบูชาเทพองค์นี้ได้ร่วงโรยไปมากแล้ว
ส่วนกรณีของท้าวสุมนเทวราช ก็อาจเป็นดังที่
ว่าที่ ร.ต. กฤษณศักดิ์ กัณฐสุทธิ์ กล่าวไว้ในนิตยสาร ตะลุยตลาดพระ ว่า
เพราะทรงเป็นเทพผู้รักษารอยพระพุทธบาท บนยอดเขาสุมนกูฏของศรีลังกา
พระองค์จึงมาเมืองไทยไม่ได้
ยังคงต้องเฝ้ารักษารอยพระพุทธบาทอยู่ในภูมิสถานเดิมของพระองค์
แม้ว่าทรรศนะเช่นนี้ จะดูเหมือนเป็นการคาดเดาอย่างง่ายๆ
เกินไป แต่ผมกลับเห็นว่า คนไทยโบราณที่รับคติเกี่ยวกับเทพองค์นี้มาจากลังกา ก็อาจจะคิดอย่างนี้เหมือนกันก็ได้
ในเมื่อพระองค์ทรงมีภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่งอยู่ที่ลังกา แล้วเราจะอัญเชิญพระองค์มาเมืองไทยเพื่ออะไรล่ะครับ
ในเมื่อพระองค์ทรงมีภาระหน้าที่อันสำคัญยิ่งอยู่ที่ลังกา แล้วเราจะอัญเชิญพระองค์มาเมืองไทยเพื่ออะไรล่ะครับ
เมื่อความจริงเป็นไปตามที่ผมนำเสนอมาทั้งหมดนี้
โดยส่วนตัวผมไม่เห็นความน่าสงสัยใดๆ เลยนะครับ ในข้อมูลที่ว่า
องค์จตุคามรามเทพทรงดลบันดาลให้
พล.ต.ท.สรรเพชญใช้ภาพแกะสลักบนบานประตูทางขึ้นลานประทักษิณของพระบรมธาตุเมืองนครฯ
เป็นต้นแบบ เพื่อสร้างเทวรูปของพระองค์
เพราะถ้าพระองค์คือ พระขัตตุคาม-พระรามเทพจริง
เทวรูปบนบานประตูดังกล่าวก็เป็นเทวรูปของพระขัตตุคาม- พระรามเทพอยู่แล้ว
ในขณะเดียวกัน ถ้าเราเชื่อในข้อมูลที่ว่า
รูปแบบของ พระผงสุริยัน-จันทรา พ.ศ.๒๕๓๐ ซึ่ง
พล.ต.ท.สรรเพชญ และนายช่างผู้ออกแบบและแกะพิมพ์กล่าวว่า
คือองค์จตุคามและองค์รามเทพซ้อนกันในรูปเดียวกันนั้น
เป็นสิ่งที่ได้รับการถ่ายทอดโดยตรงจากองค์จตุคามรามเทพผ่านการประทับทรง
เรื่องของเทวราชแห่งลังกาและพระผงดังกล่าวก็ยังคงเป็นเรื่องเดียวกันอยู่ดี
เพราะพระขัตตุคาม หรือพระสกันท์นั้น
โดยเนื้อแท้ก็คือองค์สุริยเทพที่ชาวอินเดียใต้นับถือมาตั้งแต่ก่อนที่ศาสนาฮินดูจะถือกำเนิด
ในขณะที่พระราม ซึ่งเป็นแบบอย่างของมหาบุรุษในอุดมคติของชาวฮินดูทั้งปวงนั้น
ในทางเทววิทยาก็บรรยายไว้ว่า ทรงมีทิพยภาวะอันงามสง่าและนุ่มนวลประดุจแสงจันทร์
ดังที่ผู้บูชาพระองค์มักจะออกพระนามเต็มว่า รามจันทร์ (Rama
Chandra) เสมอ
ดังนั้น เมื่อพระผงสุริยัน-จันทรา
แสดงถึงทิพยภาวะขององค์จตุคามรามเทพในฐานะเทวราชสององค์
ในขณะที่พระขัตตุคามก็คือพระอาทิตย์ และพระรามก็เปรียบเหมือนพระจันทร์
จึงเป็นนัยยะที่สอดรับกันได้สนิท
การที่องค์จตุคามรามเทพทรงกำหนดให้ พล.ต.ท.สรรเพชญสร้างหลักเมือง
และพระผงสุริยัน-จันทราขึ้นจากเทวรูปดังกล่าว
จึงเท่ากับเป็นข้อพิสูจน์อีกข้อหนึ่งว่า พระองค์คือ ท้าวขัตตุคาม-ท้าวรามเทพ
เป็นเทพสององค์ที่มาจากลังกา
ไม่ใช่พระเทวราชองค์ใดองค์หนึ่งจากยุคศรีวิชัย
ตามคำอธิบายของใครบางคน ในคณะผู้สร้างศาลหลักเมืองนครฯ ที่ชื่นชอบโบราณคดีศรีวิชัยเป็นพิเศษ
และไม่ใช่พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
ตามคำอธิบายของเซียนพระบางคน
ที่ทำให้เกิดเทวรูปองค์จตุคามรามเทพที่เลียนแบบพระอวโลกิเตศวรในศิลปะศรีวิชัย ทั้งรูปลักษณ์และฉลองพระองค์อย่างแพร่หลาย
แต่สิ่งที่น่าเสียดายที่สุด คือ
พล.ต.ท.สรรเพชญ แม้ว่าท่านจะเป็นผู้ค้นพบก่อนใครๆ ว่า
บานประตูไม้จำหลักนั้น เป็นหลักฐานขององค์จตุคามรามเทพที่แท้จริง
และยังยืนยันด้วยว่า เป็นรูปแบบที่องค์จตุคามรามเทพทรงกำหนดด้วยพระองค์เอง
ให้นำไปใช้ในการสร้างเทวรูป
แต่ภายหลังสร้างเสาหลักเมืองสำเร็จแล้ว
ท่านก็มิได้นำแบบอย่างเทวรูปจากบานประตูดังกล่าวไปจำลองแบบขึ้นเป็นเทวรูปบูชารุ่นหนึ่งรุ่นใด จนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ท่านกลับใช้รูปแบบของเทพยดาที่นั่งขัดสมาธิและมีนาคปรก ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ เลยกับคติการบูชา พระขัตตุคาม-พระรามเทพ
ท่านกลับใช้รูปแบบของเทพยดาที่นั่งขัดสมาธิและมีนาคปรก ซึ่งไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ เลยกับคติการบูชา พระขัตตุคาม-พระรามเทพ
สิ่งมีการกล่าวอ้างว่า
เป็นรูปแบบที่องค์จตุคามรามเทพทรงกำหนด มีให้เห็นอยู่แต่เฉพาะในวัตถุมงคลรุ่นแรกๆ
ของคณะผู้สร้างศาลหลักเมืองนครฯ คือพระผงสุริยัน-จันทรา
...................................
หมายเหตุ :
เนื้อหาในบทความนี้ มีลิขสิทธิ์ ใครจะนำไปใช้อ้างอิงที่ใด ไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือทั้งหมด จะต้องระบุ URL ของแต่ละบทความด้วย
และห้ามนำไปใช้เพื่อการค้าโดยเด็ดขาด
เคลียร์สุดๆ ค่ะ...แต่สงสัยว่า...แล้วที่ตอนนั้น เค้าสร้างกันเป็นร้อยเป็นพันรุ่นออกมาให้บูชากัน จะมีญาณของพระสกันท์ กับพระรามสถิตร่วมกันมั้ยคะ เห็นแต่ละรุ่นก็พิธีเหมือนกันมั่ง ไม่เหมือนกันมั่ง
ตอบลบรออาจารย์มาตอบนะคะ
ลบน่าจะไม่มีเลยแม้แต่รุ่นเดียวครับ เพราะไม่มีเจ้าพิธีท่านใดรู้ความจริงข้อนี้ แม้แต่รุ่นที่ พล.ต.ท.สรรเพชญสร้างเองก็ตาม
ลบผมดูมาหลายพิธีแล้ว คิดว่าน่าจะเป็นไปตามศาสตร์ของเจ้าพิธีแต่ละท่านเป็นเฉพาะบุคคลหรือสำนักไปมากกว่าครับ เทพที่จะมาสถิต ก็ย่อมจะมีอิทธิฤทธิ์แตกต่างกันไป ตามแต่ละสายวิชา ไม่เท่ากัน ถึงได้มีตั้งแต่รุ่นที่คนบูชาไปแล้วเห็นผลจัดจ้าน จนถึงไม่มีอะไรเลย ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่ก็เข้าพิธีที่วัดพระมหาธาตุนครฯ เหมือนกัน แต่เทพที่จะมาสถิต ถึงอย่างไรก็ต้องเป็นเทพชั้นสูงครับ แม้จะไม่ใช่พระสกันท์หรือพระรามก็ตาม
ลบเรียนแอดมินและท่านอาจาร์ ครับ พระชายาทั้งสองที่ประดิษฐานกับเทวรูปของพระสกันท์นั้น เป็นการบูชาร่วมกันมาแต่เดิม เช่นพระกฤษณะและพระแม่ราธา หรือเป็นการรวมคติเทพนารีอื่นเข้ามา เช่นพระชายาทั้งสามของพระตรีมูรติ หรือเป็นบุคคลาอฐิษฐานเช่น พระชายาของพระคเณศครับ
ลบขออนุญาตตอบแทนอาจารย์นะคะ เพราะคำถามนี้ค่อนข้างง่าย
ลบสังเกตได้ว่า ชายาสององค์นี้มาจากคนละคติความเชื่อกันนะคะ องค์หนึ่งเป็นสายไศวะทางอินเดียเหนือ อีกองค์เป็นสายอินเดียใต้
ดังนั้น จึงเป็นการรวมเทพนารีต่างลัทธิเข้าด้วยกันค่ะ
ลัทธิเดิมของพระสกันท์ ที่เป็นสุริยเทพในอินเดียใต้ ไม่ปรากฏว่ามีชายาบูชาคู่กันมาแต่เดิมค่ะ แล้วก็เป็นลัทธิเก่าแก่มากก่อนยุคฮินดู อาจจะก่อนยุคพราหมณ์ด้วย จึงไม่เน้นเรื่องชายา